'ซูจี' สู้คดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญาบนศาลโลก

NEWS: นางออง ซาน ซู จี ขึ้นสู้คดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญาบนศาลโลก บรรยากาศเข้มข้น กลุ่มสนับสนุนซู จี และชาวโรฮิงญา ทั้งในเมียนมาและที่ศาลโลกร่วมแสดงจุดยืนทั้งสองฝ่าย

Myanmar leader Aung San Suu Kyi (front) attends a hearing at the International Court of Justice in The Hague, Netherlands, on 10 December 10, 2019.

Myanmar leader Aung San Suu Kyi (front) attends a hearing at the International Court of Justice in The Hague, Netherlands, on 10 December 10, 2019. Source: AAP

เมื่อวานนี้ (10 ธ.ค.) นางออง ซาน ซู จี มนตรีแห่งรัฐของเมียนมา ผู้เคยถือครองรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปรากฏตัวในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในกรุงเฮค ประเทศเนเธอร์แลนด์ ท่ามกล่างข้อมูลนจำนวนมากเกี่ยวกับการสังหารหมู่และการข่มขืน หลังประเทศแกมเบีย ในทวีปแอฟริกาตะวันตกยื่นฟ้องเธอต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ผู้คนนับพันที่นครย่างกุ้งร่วมเดินขบวนเพื่อร่วมสนับสนุนนางซู จี ในวัย 74 ปี ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างนานาประเทศของเธอ ในฐานะสัญลักษณ์แห่งสิทธิมนุษยชนถูกแปดเปื้อน จากการปิดเงียบข้อมูลเกี่ยวกับชะตากรรมของชาวโรฮิงญา

มีชาวโรฮิงญากว่า 740,000 คนที่ลี้ภัยไปยังบังคลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศใกล้เคียง หลังกำลังทหารของเมียนมาใช้กำลังเข้าโจมตี จนนำไปสู่เหตุนองเลือดเมื่อปี 2017 ซึ่งมีการสอบสวนโดยองค์การสหประชาชาติ และระบุว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 

“บอกกับเมียนมาให้หยุดการเข่นฆ่าผู้คนอย่างไร้แก่นสาร หยุดการกระทำที่ป่าเถื่อนซึ่งสร้างความสะเทือนทางคุณธรรม และหยุดการสังหารผู้คนที่อยู่ในชาติเดียวกัน” นายอาบูบาคาร์ ตัมบาดู (Abubacarr Tambadou) รัฐมนตรียุติธรรมของประเทศแกมเบีย กล่าวต่อคณะลูกขุน   

ประเทศแกมเบีย ได้กล่าวหาเมียนมาว่าละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ปี 1948 และได้ร้องขอต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งก่อนตั้งขึ้นในปี 1946 ในการดำเนินคดีระหว่าประเทศสมาชิกสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพื่อดำเนินมาตรการฉุกเฉินในการหยุดเหตุรุนแรงในอนาคต

“อีกครั้งที่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปรากฎต่อหน้าสายตาของเรา ซึ่งยังไม่ได้ทำอะไรเพื่อที่จะหยุดมัน” นายตัมบาดู อดีตอัยการในการตัดสินคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศรวันดา เมื่อปี 1994 กล่าวเสริม

“ทุกวันที่มีการเพิกเฉย หมายถึงผู้คนจำนวนมากที่ถูกฆ่า ผู้หญิงจำนวนมากที่ถูกข่มขืน และเด็กจำนวนมากที่ถูกเผาให้ตายทั้งเป็น เพียงเพราะพวกเขาเกิดมาแตกต่างจากคนอื่น”
Aung San Suu Kyi (L) and members of her delegation appearing before the ICJ on the first day of hearings in the case the Gambia vs Myanmar at The Hague.
Aung San Suu Kyi (L) and members of her delegation appearing before the ICJ on the first day of hearings in the case the Gambia vs Myanmar at The Hague. Source: AAP
ต่อมา นายตัมบาดูได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า มันจะเป็นความ “ผิดหวังอย่างยิ่ง” หากนางซู จี ยังย้ำในคำปฏิเสธการกระทำผิดในการแถลงต่อศาลยุติธรรมระหว่าประเทศอีกครั้ง ในวันนี้ (11 ธ.ค.)

บรรยากาศบริเวณศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวานนี้เป็นไปอย่างเข้มข้น มีกลุ่มชาวโรฮิงญาราว 50 คน รวมตัวกันที่บริเวณหน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรุงเฮค เพื่อฟังการพิจารณาคดี พร้อมถือป้ายที่เขียนว่า “เปิดรับชาวโรฮิงญา ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความยุติธรรมที่ถูกปฏิเสธ”

“วันนี้คือจุดเริ่มต้นของสิทธิของเราต่อความยุติธรรม” นายโมฮัมเม็ด ฮารัน อายุ 49 ปี ที่เดินมาจากกรุงลอนดอน เพื่อเข้าฟังการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 

“มันเป็นวันแห่งความยุติธรรมระหว่างประเทศของชาวโรฮิงญา” นายฮารันกล่าวกับเอเอฟพี

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้สนับสนุนนางซู จี ที่ได้แสดงป้ายสนับสนุนอยู่บริเวณด้านนองศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยเขียนข้อมความว่า “เรารักคุณ เราจะยืนเคียงข้างคุณ”

“นางซู จี คือคนเดียวที่จะแก้ปัญหาได้” Swe Swe Aye หนึ่งในผู้สนับสนุนอายุ 47 ปี กล่าวกับเอเอฟพี

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 11 December 2019 4:45pm
Updated 11 December 2019 5:53pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AFP, SBS


Share this with family and friends