ออสฯ เร่งปฏิรูปธุรกรรมการเงินรับ “ยุคใช้จ่ายดิจิทัล”

$100 Australian dollar notes pop out of a wallet with credit cards, pictured in Brisbane, Tuesday, Aug. 20, 2013. (AAP Image/Dan Peled) NO ARCHIVING

ปัจจุบันธุรกรรมธนาคารร้อยละ 98.9 เป็นการดำเนินการผ่านแอปหรือออนไลน์ Source: AAP / AAP Image/Dan Peled

สมาคมธนาคารแห่งออสเตรเลีย [A-B-A] เผยปัจจุบันธุรกรรมธนาคารร้อยละ 98.9 เป็นการดำเนินการผ่านแอปหรือออนไลน์ รัฐบาลต้องวางนโยบายกำหนดขอบเขตในเรื่องนี้เพื่อให้แน่ใจว่าระบบการเงินของออสเตรเลียเข้ากับยุคสมัย


การใช้เงินสดแบบเดิมนั้นล้าสมัยไปแล้ว และมันได้ถูกแทนที่ด้วยกระเป๋าเงินดิจิทัล รายงานล่าสุดของสมาคมธนาคารแห่งออสเตรเลีย (A-B-A) เปิดเผยว่าวิธีการชำระเงินของออสเตรเลียได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 75 ของธุรกรรมทั้งหมดในปัจจุบันเป็นการใช้บัตรเครดิต ในขณะที่ ร้อยละ 13 เป็นการใช้เงินสด ขณะที่เช็คลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.2

นาง แอนนา ไบลห์ ประธานกรรมการบริหารของ A-B-A ระบุว่าช่วงโควิดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีชำระเงินชาวออสเตรเลีย

"แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงวิธีชำระเงินเกิดขึ้นในระบบก่อนเกิดโควิด แต่สามาช่วงโควิดเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ในช่วงโควิดร้านค้าหลายเจ้าไม่ยอมรับเงินสดเพราะพวกเขากังวลว่าอาจสัมผัสกับไวรัส และจนกระทั่งตอนนี้หลาย ๆเ จ้าก็ยังคงไม่รับเงินสด"
นาง แอนนา ไบลห์ ประธานกรรมการบริหารของ A-B-A ชี้

Mobile phones are one of the biggest contributors to electronic waste.
การใช้กระเป๋าเงินมือถือก็มีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากวิธีการชำระเงินแบบเดิมไม่สะดวกอีกต่อไป Source: AAP

นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของบริการธนาคารออนไลน์ ซึ่งส่งผลให้การติดต่อธุรกรรมกับสาขาธนาคารลดลงร้อยละ 46

การใช้กระเป๋าเงินมือถือก็มีอัตราเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากการสำรวจพบว่าในปีที่แล้ว มีการลงทะเบียนบัตรที่ใช้ในกระเป๋าเงินมือถือมากกว่า 15.3 ล้านใบ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2018 2 ล้านใบ

ซึ่งหมายความว่าในปี 2565 มูลค่ารวมของธุรกรรมกระเป๋าเงินมือถือเพิ่มขึ้นเป็น 93 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 746 ล้านเมื่อ 4 ปีก่อนหน้านี้

นาย แมทธิว แอดดิสัน ประธานสภาองค์กรธุรกิจขนาดย่อมของออสเตรเลีย ชี้ว่า เราควรตอนรับกระแสการเปลี่ยนแปลงใหม่ด้วยความระมัดระวัง

นี่เป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับภาคธุรกิจ เพราะช่วยให้การดำเนินการทางธุรกรรมง่ายขึ้น ช่วยเก็บบันทึก ช่วยให้กระบวนการคล่องตัวขึ้น เราแค่ต้องดูแลให้มีกฎหมายที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าการชำระเงินดิจิทัลจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายของธุรกิจขนาดเล็ก

 หลังจากที่รัฐบาลอัลบานีซีประกาศว่าจะเลิกใช้ เช็คภายใน 10 ปีนี้ ภายใต้โครงการปฏิรูประบบการชำระเงินของออสเตรเลียให้ทันสมัย ทำให้ในไม่ช้าเราจะไม่มีการขึ้นเงินเช็คอีกแล้ว

Two men will face court after hundreds of stolen credit cards were retrieved by NSW police.Two men will face court after hundreds of stolen credit cards were retrieved by NSW police.
ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 75 ของธุรกรรมทั้งหมดในปัจจุบันเป็นการใช้บัตรเครดิต ในขณะที่ ร้อยละ 13 เป็นการใช้เงินสด ขณะที่เช็คลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.2 Source: AP

นาย จิม ชาลเมอร์ส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าผู้คนเลือกใช้ธุรกรรมที่ประหยัดและง่ายขึ้น ซึ่งหมายความว่าปัจจุบันเช็คกลายเป็นบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูงสำหรับประชากรเพียงหยิบมือเดียว

"วัตถุประสงค์ของเราคือ การปรับปรุงระบบการชำระเงินของเราให้ทันสมัย ​​เพื่อให้สามารถเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่มีประสิทธิผลมากขึ้น มีนวัตกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และมีการแข่งขันทางเศรษฐกิจมากขึ้น เราต้องการให้การชำระเงินของเราปลอดภัยและเข้าถึงได้ มีประสิทธิภาพ และเราต้องการให้แน่ใจว่าประชาชนจะก้าวทันกับการพัฒนาทางเทคโนโลยี" นาย จิม ชาลเมอร์ส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าว

 ในขณะที่โลกธนาคารออนไลน์เปิดโอกาสการทำธุรกรรมให้กับลูกค้ามากขึ้น แต่มันก็มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน


รองศาสตราจารย์ เดเนียล กอสแมน จาก Business School แห่ง University of Sydney กล่าวว่า

"การทำธุรกรรมออนไลน์เป็นการเพิ่มโอกาสให้มี ภัยคุกคามความปลอดภัยทางไซเบอร์และภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวส่วนบุคคลและข้อมูลและอื่น ๆ มากขึ้น  ผมคิดว่ามันมีผลดีต่อการเร่งการเติบโตของธุรกิจ การชำระเงินที่ง่ายขึ้น เร่งการทำธุรกรรม อย่างไรก็ตามมันก็มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้คนในโลกไซเบอร์"

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกลางเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกรรมของผู้บริโภคเป็นตัวกำหนดความต้องการสังคมและมันจะนำไปสู่เศรษฐกิจที่ทันสมัยมากขึ้น



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


 

 

Share