คุณติดสมาร์ทโฟนหรือเปล่า

เช็กโทรศัพท์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนอาจดูเหมือนเสพติด แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ พฤติกรรมเช่นนี้เลิกได้โดยไม่ส่งผลกระทบรุนแรงในระยะยาว

smartphone

Obsessively checking our smartphone apps may look like addiction but, for most people, it is reinforced behaviour that could be broken. Source: Getty Images

“ภาวะเสพติด” (Addiction) เป็นอีกหนึ่งคำคุ้นหูเมื่อกล่าวถึงคนที่ใช้เวลามากเกินไปกับสิ่งที่ผู้อื่นมองว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพกายใจ ทุกวันนี้  กิจกรรมบนสมาร์ทโฟนไม่ว่าจะเล่นแอปพลิเคชัน ส่งข้อความ หรือแค่หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู หากมากเกินพอดีก็อาจเกิดปัญหาตามมาเช่นกัน

ตามหลักการแล้วคุณไม่สามารถเสพติดอุปกรณ์ได้ แต่ยังคงมีโอกาสบ่มเพาะพฤติกรรมเสพติดฟังก์ชันบนสมาร์ทโฟน

ภาวะเสพติดคืออะไร

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) นิยามภาวะเสพติดว่าเป็นการพึ่งพาสารเสพติดบางอย่าง เช่น ยา บุหรี่ หรือแอลกอฮอล์ บุคคลเข้าสู่ภาวะเสพติดเมื่อต้องพึ่งสารนั้นทั้งทางกายและพฤติกรรม

(Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2013 ขยายเกณฑ์วินิจฉัย “ภาวะเสพติดเชิงพฤติกรรม” (Behavioural Addiction) ที่ไม่มีองค์ประกอบของการพึ่งพาทางกายภาพ แต่ครอบคลุมแรงผลักดันให้ทำกิจกรรมที่นำไปสู่ความพึงพอใจทางจิตวิทยา

เช่น เสพติดการพนันหรือเสพติดเซ็กส์ อาจบ่อนทำลายสุขภาวะทางจิต อีกทั้งเป็นต้นตอปัญหาความสัมพันธ์กับมิตรสหาย ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน
addicted to the social media
...addicted to the social media Source: E+
การเสพติดทั้งในรูปแบบ “สารเสพติด” และ “พฤติกรรม” ผู้เสพติดแสวงหาสิ่งกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดปามีน (Dopamine) เพื่อสร้างความรู้สึกพึงพอใจรวมถึงผลทางจิตอื่น ๆ (เช่น บรรเทาความเครียดและความเจ็บปวด) ยิ่งทำซ้ำมากเท่าใด ยิ่งต้องการสิ่งกระตุ้นเพิ่มขึ้นเพื่อให้ระบบรางวัลของสมอง (Brain Reward System) ตอบสนองในระดับเดิม

จนถึงปัจจุบันยังคงไม่มีหลักฐานเพียงพอชี้ว่า การใช้สมาร์ทโฟนนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตขั้นรุนแรงในวงกว้าง ดังนั้นจึงไม่น่าเรียกได้ว่า คนเรา “เสพติด” สมาร์ทโฟนอย่างที่มักพูดกัน

แทนที่จะเรียกว่าเสพติด โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใช้สมาร์ทโฟนอาจมีพฤติกรรมย้ำทำกิจกรรมเดิม ๆ หลายคนเช็กโทรศัพท์ตลอดเวลา หาโอกาสเติมความสุขระยะสั้นจากโดปามีน หรือไม่ก็เบี่ยงเบนความสนใจจากอาการเบื่อหน่ายหรือกิจวัตรประจำวัน เช่น ระหว่างเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ตัดความเป็นไปได้ของการเสพติดสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะในหมู่ผู้มีความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรมเสพติด ซึ่งอาจแสดงออกผ่านพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางลบ เช่น วิตกกังวลและหงุดหงิดง่ายขึ้น หรือกระวนกระวายอย่างหนักเมื่อใช้สมาร์ทโฟนไม่ได้

ยืนยันว่า ผู้มีอายุน้อยว่า 18 ปี เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมย้ำทำหรือคล้ายเสพติดที่สัมพันธ์กับการใช้สมาร์ทโฟน อาจเพราะยังควบคุมแรงผลักดันภายในตนเองได้ไม่มากนักเนื่องจากสมองส่วนหน้ายังอยู่ระหว่างพัฒนา ทั้งยังบ่งชี้ว่า ผู้ใหญ่ที่ควบคุมแรงผลักดันของตัวเองได้ไม่ดีและ/หรือมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ที่จะเสพติดสมาร์ทโฟน

ปัญหาของโซเชียลมีเดีย

ผลเชิงพฤติกรรมของการใช้โซเชียลมีเดียบนสมาร์ทโฟนพบได้หลายรูปแบบ เช่น พฤติกรรมย้ำทำ (เช็กแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์จนกว่าจะไม่ได้รับโดปามีนจากกิจกรรมนี้แล้ว) ไปจนถึงพฤติกรรมเสพติด (พยายามหาความพึงพอใจจากโดปามีนซ้ำ ๆ ผ่านรางวัลตอบแทนที่ได้รับจากโทรศัพท์)

ใช้เวลาประมาณห้าชั่วโมงต่อวันกับกิจกรรมบนสมาร์ทโฟน เช่น ส่งข้อความ ใช้โซเชียลมีเดีย ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์ โดยใช้เวลากว่าครึ่งหนึ่งไปกับโซเชียลมีเดีย

โซเชียลมีเดียให้รางวัลตอบแทนแก่ผู้ใช้ในรูปแบบจำนวนไลก์ สัญลักษณ์อีโมจิ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้ชมจำนวนมาก ยิ่งมีคนตอบโพสต์มากเท่าไร เรายิ่งได้รับความรู้สึกพึงพอใจที่มีคนเห็นด้วยหรือยอมรับความคิดความสนใจของเรา

การมีส่วนร่วมในโซเชียลมีเดียและส่งข้อความถึงเพื่อนถึงครอบครัวตลอดเวลาอาจเป็นเรื่องน่ากังวลมากกว่าตัวอุปกรณ์ที่ใช้ ด้วยเหตุที่กิจกรรมเหล่านี้ จึงให้ผลบรรเทาแรงกดดัน ลดความเครียด

สัญชาตญาณผลักดันให้มนุษย์แสวงหาการชื่นชมและการยอมรับจากสังคม ก่อนที่ Facebook และ Instagram จะถือกำเนิดขึ้นมา คนเราเข้าหาผู้อื่นผ่านสถานการณ์หลายรูปแบบเพื่อมีส่วนร่วมกับสังคมและเป็นที่ยอมรับ เมื่อมีเทคโนโลยีช่วยขยายวงสังคมออกสู่ชุมชนที่กว้างขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหากเราจะทำเช่นนั้นโดยไม่นึกสงสัย

ยิ่งสำหรับเยาวชนแล้ว โลกโซเชียลเป็นส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาอัตลักษณ์ตัวตน ส่งผลต่อความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเป็นที่ยอมรับนอกวงสังคมเพื่อนและครอบครัวที่มีอยู่เดิม

ผู้ประสบปัญหาจากการใช้งานฟังก์ชันสมาร์ทโฟนติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะโซเชียลมีเดีย บริการสตรีมวิดีโอ เกม หรือข้อความ อาจเข้าข่าย
Woman Using Smartphone
Woman Using Smartphone Source: Getty Images
กรณีนี้ควรหันมาทบทวนว่ารางวัลตอบแทนที่ได้รับจากฟังก์ชันที่คุณใช้บ่อยที่สุดบนสมาร์ทโฟนคืออะไร แล้วดูว่ารับรางวัลแบบเดียวกันผ่านกิจกรรมอื่นที่สร้างสรรค์และดีต่อสุขภาวะของคุณกว่านี้ได้หรือไม่

ตัวอย่างเช่น หากคุณออนไลน์โซเชียลมีเดียตลอดเวลา ลองถามตัวเองว่า “ฉันได้อะไรจากการโพสต์และตอบโพสต์ออนไลน์” “ฉันสามารถรับประโยชน์ตอบแทนแบบเดียวกันนี้จากปฏิสัมพันธ์ซึ่งหน้าได้หรือไม่”

สำหรับบางคน การมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์ช่วยเพิ่มความหลากหลายจากสังคมออฟไลน์ ขณะที่หลายคนไม่ทันตระหนักว่าชีวิตส่วนใหญ่ของตนตอนนี้อยู่บนโลกออนไลน์

ถึงเวลาวางสมาร์ทโฟนหรือยัง

ผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนมากติดใจฟังก์ชันบนสมาร์ทโฟน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ฟังก์ชันเหล่านั้นจะน่าสนใจน้อยลงและกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้เมื่อจำเป็น อย่างที่สังคมปรับตัวคุ้นชินกับคอมพิวเตอร์

ระหว่างนี้เราจำเป็นต้องสอนเยาวชนให้เท่าทันการใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นปัญหา ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าเหตุใดกิจกรรมบนสมาร์ทโฟนบางครั้งอาจเป็นเรื่องเสียเวลา หรืออาจถึงขั้นส่งผลเสียต่อสุขภาวะทางจิตของพวกเขา ประเด็นนี้เริ่มปลูกฝังได้ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก แล้วเสริมต่อเนื่องไปตลอดช่วงพัฒนาการ

เรายังมีเคล็ดลับลดใช้สมาร์ทโฟนสำหรับวัยผู้ใหญ่มาฝากกันด้วย

  1. ลดจำนวนแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์ของคุณ ลองประเมินว่ามีแอปใดที่จำเป็นจริง ๆ และใช้บ่อยที่สุดไม่ใช่เพียงแก้เบื่อ ยิ่งมีไอคอนบนหน้าจอโฮมสกรีนน้อยเท่าไรยิ่งดี
  2. ปิดการแจ้งเตือนผ่านปุ่มการตั้งค่า (Settings) โทรศัพท์ควรแจ้งเตือนเฉพาะกิจกรรมสำคัญเพื่อช่วยรักษาสุขภาพ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานระหว่างชั่วโมงทำงาน
  3. อย่าวางโทรศัพท์ไว้ข้างหัวเตียงตอนเข้านอน เพราะถ้าโทรศัพท์อยู่ใกล้มือ เป็นไปได้ว่าสิ่งแรกที่ทำเมื่อลืมตาตื่นคือคว้าสมาร์ทโฟน ลองตื่นมาคิดถึงเรื่องที่จะทำในแต่ละวันแทนที่จะเป็น “ฉันพลาดข่าวหรือเรื่องราวอะไรในโซเชียลมีเดียตอนที่หลับอยู่”
  4. ตระหนักรู้ตัวเองเวลาหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาระหว่างวันโดยเฉพาะยามเบื่อ ลองฝึกลมหายใจบริหารสติเพื่อช่วยผ่อนคลายสงบจิตใจ เทคนิคหลายอย่างมีหลักฐานสนับสนุน ที่ใช้เวลาแค่สามนาที
  5. ถ้าคุณต้องการลดเวลาที่ใช้กับสมาร์ทโฟนอย่างจริงจัง ลองพิจารณาลักษณะการใช้งานโซเชียลมีเดียของตัวเอง ถ้าจำเป็นอาจลบแอปพลิเคชันเหล่านั้นออกจากเครื่อง
บทความนี้ตีพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกที่เว็บไซต์  อ่านบทความต้นฉบับได้ 

ชมสารคดี Are You Addicted To Technology?ได้ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน ทาง SBS On Demand บนระบบ iOS และ tvOS โปรดอัปเดตหรือดาวน์โหลดเวอร์ชันล่าสุด รองรับระบบปฏิบัติการเวอร์ชัน OS 13.5 ขึ้นไป
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 22 April 2021 9:43am
Updated 28 April 2021 4:38pm
By Andrew Campbell
Presented by Phantida Sakulratanacharoen
Source: SBS Voices

Share this with family and friends