ทำไมหน้าหนาว ทำให้เราแซด (SAD)

เคยสังเกตกันไหมว่า ทำไมช่วงฤดูหนาวเรา หรือคนที่เรารู้จักหลายๆ คนมักมีอากาศซึม แซดๆ (SAD) สิ่งนี้มีชื่อเรียก และมันซีเรียสกว่าแค่ว่า "ฉันเศร้า"

Making friends is not easy.

Seasonal Affective Disorder (SAD) คือภาวะซึมเศร้าประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล Credit: Andrew Neel

พูดถึงหน้าหนาว เชื่อว่าชาวเมืองร้อนแบบคนไทยหลายคนต่างโหยหาสิ่งนี้ อยากย้ายมาอยู่เมืองหนาวๆ ให้ฉ่ำใจ ให้สาสมกับที่ทนแดดร้อนที่ไทย ทว่าพอได้มาอยู่จริงๆ อยู่นานวันขึ้น หน้าหนาวเริ่มไม่สนุกอย่างที่คิดไว้ โดยเฉพาะกับสภาพอากาศที่อึมครึม แสงแดดน้อยๆ ฟ้าสีเทา เผลอๆ บางวันอาจมีฝนมาเติม ไหนจะมืดเร็ว จนพาลใจหอเหี่ยว ( หากมีคนข้างกายก็คงดีไม่น้อย – หลายคนคงกำลังคิดแบบนั้น) และมันอาจร้ายแรงทำให้เราแซด (SAD) ได้

เอ๊ะ!! แซด (SAD) คืออะไร ใช่คำที่แปลว่า เศร้า หรือเปล่านะ หรือจริงๆ รุนแรงกว่านั้น ขอชวนแซดบอย แซดเกิร์ล หรือจะแซดในเฉดไหน มาสำรวจสิ่งนี้ไปพร้อมๆ กัน

SAD ที่เป็นมากกว่าแค่ความเศร้า ความแซด

SAD ย่อมาจากอาการภาวะของโรคที่มีชื่อเรียกว่าคือภาวะซึมเศร้าประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ภาวะนี้เรียกอีกอย่างว่าภาวะซึมเศร้าในฤดูหนาว แม้ว่างานวิจัยบางชิ้นจะแนะนำว่าผู้คนสามารถเป็นโรคนี้ได้ในช่วงเดือนที่อากาศอบอุ่นก็ตาม

แม้ว่าบางครั้งคุณอาจรู้สึกใจห่อเกี่ยวไม่มีเรี่ยวแรงตลอดช่วงเดือนที่อากาศหนาวๆ แต่ SAD ถือเป็นโรคชนิดหนึ่ง ผู้ที่เป็นโรค SAD อาจมีอาการคล้ายกับภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง รวมถึงการนอนหลับที่หยุดชะงัก ความนับถือตนเองต่ำ ระดับการออกกำลังกายต่ำ และมีความอยากรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่สูงขึ้น

ผู้ที่มีอาการ SAD มักจะประสบกับอาการนี้ในเวลาเดียวกันทุกปี
Nick Titov ผู้อำนวยการคลินิกสุขภาพจิตออนไลน์ MindSpot และศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Macquarie กล่าวว่า "SADเป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะซึมเศร้า" “มันร้ายแรงกว่าความเศร้าในชีวิตประจำวันมาก”

กล่าวกันว่า SAD นั้นพบได้ยากมากในออสเตรเลีย โดนส่วนใหญ่พบได้ทั่วไปในสภาพอากาศที่เย็นกว่าของประเทศในซีกโลกเหนือ ซึ่งบางแห่งได้รับแสงแดดเพียงไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุของ SAD ในช่วงฤดูหนาว
Melbourne CBD
เมืองเมลเบิร์นในวันหมอกหนา Source: AAP
ศาสตราจารย์ เกร็ก เมอร์เรย์ (Greg Murray) ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตแห่งมหาวิทยาลัยสวินเบิร์น บอกกับเอบีซีในปี 2020 ว่าเขาเชื่อว่าอาการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ “ชาวออสเตรเลียประมาณหนึ่งใน 300 คน”

ความ SAD ในใจเราเกิดขึ้นจากอะไร?

แม้ว่าการวิจัยเกี่ยวกับ SAD จะมีจำกัด แต่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ก็เชื่อมโยงเรื่องนี้เข้ากับการขาดแสงแดดที่ร่างกายดูดซึมในช่วงเดือนที่อากาศหนาวเย็น และการรบกวนของนาฬิกาชีวิตหรือจังหวะการเต้นของหัวใจ

การขาดแสงแดดยังส่งผลต่อฮอร์โมนบางชนิดที่ปล่อยออกมาในร่างกาย เช่น เมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่บอกร่างกายว่าถึงเวลานอน และเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความอยากอาหาร และการนอนหลับ

การวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่าต้นเหตุของ SAD อาจเป็นวงจรสมองที่เชื่อมต่อเซลล์รับแสงพิเศษในเรตินากับบริเวณสมองที่ส่งผลต่อไม่ว่าคุณจะมีความสุขหรือเศร้า
เมื่อเซลล์ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาของวัน เซลล์จะใช้เส้นทางนี้เพื่อส่งข้อความแห่งความเศร้าและแม้กระทั่งภาวะซึมเศร้าไปยังสมอง

“แพทเทิร์นของคนที่มีภาวะ SAD มักจะนอนเยอะ น้ำหนักเพิ่มขึ้น รู้สึกเหนื่อยล้า และรู้สึกเฉยชา” ดร.แกรนท์ บลาชกี(Grant Blashki) หัวหน้าที่ปรึกษาทางคลินิกของ Beyond Blue
melbourne_city.png
ฤดูหนาวนั้นอาจทำให้ผู้คนจำนวนมากใช้ชีวิตช้าลงได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างการตื่นขึ้นมาอย่างห่อเหี่ยวกับภาวะ SAD

“เราทุกคนมีช่วงเช้าที่เรายอมจะมอบเงินหนึ่งล้านดอลลาร์เพื่อขออยู่บนเตียงต่อไปอีก 10 นาที แต่เมื่อเป็นเช่นนั้นทุกวัน เมื่อมันส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณ ก็ถึงเวลาขอความช่วยเหลือ” ดร. บลาชกีบอกกับ The Feed

คนไข้ของฉันบางคนบอกว่าพวกเขารู้สึกราวกับว่าพวกเขากำลังเข้าไปในอุโมงค์เมื่อฤดูหนาวใกล้เข้ามา
ดร.บลาชกี กล่าว

รู้สึก SAD ทำอย่างไรดี?

เนื่องจาก SAD เป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะซึมเศร้า ดร. บลาชกีจึงแนะนำให้ใครก็ตามที่รู้สึกว่าอาการทรุดลงให้ติดต่อแพทย์ GP หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่นๆ ที่เชื่อถือได้เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษา

“ในฐานะแพทย์ สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่ามันคือภาวะ SAD เป็นภาวะซึมเศร้าที่รู้จักมากขึ้น เพราะการรักษานั้นแตกต่างออกไป” เขากล่าว

ดร. บลาชกีกล่าวว่าหนึ่งในวิธีการรักษาที่ชัดเจนและมีประโยชน์มากที่สุดคือการได้รับแสงแดดโดยตรงมากขึ้น

“ฉันจะบอกกับผู้คนว่าถึงแม้คุณจะพักทานอาหารกลางวันในที่ทำงานก็พยายามออกไปข้างนอก แม้ว่าจะไม่มีแดดก็ตาม” ดร.บลาชกีกล่าว
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงแสงแดดได้ การบำบัดด้วยกล่องไฟก็ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจเช่นกัน

การบำบัดนี้เกี่ยวข้องกับการนั่งอยู่หน้า "โคมไฟ SAD" ที่สว่างจ้าเป็นเวลา 30 นาทีทุกเช้าเพื่อเริ่มนาฬิกาชีวิตภายในของคุณ

Pedestrians in Melbourne
อากาศที่แปรปรวน ท้องฟ้าที่ไร้แสงแดด มีส่วนที่ทำให้หลายคนเผชิญภาวะ SAD Source: AAP
Beyond Blue ยังแนะนำการเปลี่ยนแปลงตามปกติหลายอย่างที่สามารถช่วยบรรเทาอาการของ SAD ได้

สิ่งเหล่านี้รวมถึงการแสวงหาแสงแดดธรรมชาติให้มากที่สุด เพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย เช่น การฝึกสมาธิหรือโยคะ

“...หนาวนี้เธอกอดใคร หนาวไหมมากอดกัน...” เนื้อเพลงฮิตที่คงผ่านลอยไปลอยมาในเพลยลิสต์ในวันที่อากาศหนาว แต่ถึงคุณไม่มีใคร อย่าลืมกอดตัวเองให้ดีๆ อย่าปล่อยให้ความ SAD กัดกินใจเรา ผู้อ่านที่ต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตสามารถติดต่อ

• SANE Australia Helpline 1800 18 SANE (7263) www.sane.org

• beyondblue support service line 1300 22 46 36

• Lifeline 13 11 14 www.lifeline.org.au

• MensLine Australia 1300 78 99 78

บทความนี้มีข้อมูลทั่วไปเท่านั้น หากต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์ส่วนบุคคลของคุณ โปรดพบแพทย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม


Share
Published 30 May 2024 2:46pm
Updated 30 May 2024 3:04pm
By Warich Noochouy
Source: SBS

Share this with family and friends