อุตุฯ โลกคาดโลกจะร้อนขึ้น1.5 องศาในอีก 5 ปีข้างหน้า

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกระบุว่าอุณหภูมิโลกมีโอกาสที่จะทะลุขีดจำกัดของการเพิ่มอุณหภูมิอีก 1.5 องศาเซลเซียสภายใน 5 ปีข้างหน้า

People at Bondi Beach

Beachgoers cool off at Sydney's Bondi Beach in January. For the first time, global temperatures are more likely than not to breach 1.5C of warming within the next five years, the World Meteorological Organisation says. Source: AAP / Jeremy Ng

ประเด็นสำคัญ
  • อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มทะลุ 1.5 องศาเซลเซียสภายใน 5 ปี ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
  • ปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงกลางปีมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความรุนแรงและทำให้อเมริกาเหนือมีอุณหภูมิสูงขึ้น และเกิดความแห้งแล้งในอเมริกาใต้
  • WMO คาดว่ามีความาเป็นไปได้ถึง ร้อยละ 98 ที่ปีใดปีหนึ่งในอีกห้าปีข้างหน้าจะร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกเผยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มที่จะทะลุ 1.5 องศาเซลเซียสแน่ๆภายใน 5 ปีข้างหน้า

นี่ไม่ได้หมายความว่าโลกจะผ่านเกณฑ์ภาวะโลกร้อนในระยะยาวที่ 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีสปี 2558 แต่ถ้าพิจารณาจากค่าเฉลี่ยทั่วโลก 30 ปี หนึ่งปีที่ร้อนขึ้นที่ 1.5 องศาเซลเซียส อาจทำให้เห็นได้ว่าการข้ามเกณฑ์อุณหภูมิในข้อตกลงระยะยาวนั้นเป็นอย่างไร



มีความเป็นไปได้ว่าโลกจะร้อนขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียสเป็นการชั่วคราวถึงร้อยละ 66 ภายในปี 2027

“นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีแนวโน้มมากกว่าอุณหภูมิจะเพิ่มเกิน 1.5C"

ซึ่งรายงานของปีที่แล้วคาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 50-50

คุณ อดัม สเคฟ หัวหน้าฝ่ายคาดการณ์ระยะยาวขององค์การอุตุนิยมวิทยาประจำศูนย์วิจัยแฮดลีย์ ของสหราชอาณาจักรกล่าว ซึ่งเขาได้ทำงานร่วมกับกับการรายงานประจำปีฉบับล่าสุดขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological หรือ WMO)

คุณ ลีออน เฮอร์แมนสัน จากศูนย์วิจัยองค์การอุตุนิยมวิทยาประจำศูนย์วิจัยแฮดลีย์ กล่าวว่า

“แม้ว่าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสเป็นการชั่วคราวแต่ก็เป็นข้อบ่งชี้ว่าในขณะที่เราเริ่มมีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสบ่อยครั้งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมันอาจทำให้เราเข้าไปใกล้การเพิ่มอุณหมิที่สูงขึ้นจากเกณฑ์ที่กำหนดอย่างถาวร"


นอกจากนี้ยังหมายความว่าเราล้มเหลวในการปฎิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่สิ่งที่เป็นปัจจัยเร่งในเรื่องนี้อีกปัจจัยหนึ่งคือการเกิด ปรากฏการณ์เอลนีโญที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญนั้น น้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกในเขตร้อนจะทำให้ชั้นบรรยากาศร้อนขึ้น และส่งผลให้ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นด้วย


คุณ เพตเตรี ตาลาส เลขาธิการ WMO แถลงว่า

ปรากฏการณ์เอลนีโญ “จะผสานเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากฝีมือมนุษย์เพื่อผลักดันอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้นและทำให้โลกกลายเป็นดินแดนใหม่ที่ไม่มีใครเคยรู้สึกแบบนี้มาก่อน”

การเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญฉับพลันในช่วงกลางปีทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเกิดความกังวล

ปรากฏการณ์สภาพอากาศแม้ว่าจะแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความรุนแรงและนำสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นมาสู่อเมริกาเหนือ และความแห้งแล้งมาสู่อเมริกาใต้ โดยเฉพาะแถบอเมซอนมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดไฟป่า

และมีความเป็นไปได้ว่าเมื่อเวลาผ่านไปอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นชั่วคราว 1.5 องศานั้นอาจจะเพิ่มอุณหภูมิมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย


นักวิทยาศาสตร์เคยประเมินว่ามีโอกาสเพียงร้อยละ 10 ที่อุณหภูมิจะเพิ่ม 1.5 องศาเซลเซียส ระหว่างปี 2560 ถึง 2564

อย่างไรก็ตามข้อมูลล่าสุดที่ WMO พยากรณ์ไว้ดูจะมีการให้รายละเอียดในการคาดการณ์ในระยะยาวมากกว่ารายงานที่จัดทำโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งอ้างอิงจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต

WMO สรุปว่ามีโอกาสร้อยละ 98 ที่ปีใดปีหนึ่งในห้าปีข้างหน้าจะเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งสูงกว่าปี 2559 ที่อุณหภูมิโลกได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นประมาณ 1.3 องศาเซลเซียส

คุณ ดอง พาร์ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ขององค์กรกรีนพีซสหราชอาณาจักรกล่าวว่า

"รายงานฉบับนี้จะต้องเป็นเสียงเรียกร้องเพื่อกระตุ้นให้ทั่วโลกพยายามจัดการกับวิกฤตสภาพอากาศให้จริงจังมากขึ้น”

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  




บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



 


Share
Published 19 May 2023 12:30pm
Presented by Chayada Powell
Source: AAP


Share this with family and friends